Creative internet & e-business solutions
Google
 
www www.mew6.com
ศิลปะ-ศิลปินการออกแบบบรรจุภัณฑ ์เพลง ทำเว็บทางนี้มีรัก
 
ศิลปะในสายตาฉัน
จ่าง แซ่ตั้ง
สมบูรณ์ หอมเทียนทอง
พู่กันของใคร?
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น
แกลลอรี่คนจน
ภาพของคนรักฝน
ฟรีด้า คาฮ์โล
นู้ดผู้หญิง...
Double Nature
กอด
เธอตัวจริงกับผู้หญิงในภาพ
ปั้นฝัน จึงปั้นดิน
ถ้าเรารักมัน มันก็เป็นของเรา
วิหารของเราเอง
"คนบ้า"หรือว่า"ช่างจิตรกร"
เหตุที่เขียนแม่ให้แปลกไป
ยุคสมัยที่เป็นเรา
รักเรายังหวานอยู่ ...
ล้านเส้นสี แสนกนก
กระป๋องซุป ของ แอนดี้
ถ้าไม่ดัง ขอให้ไพเราะ
ห้องเรียนศิลปะของ"ครูยิ่ง"
สิงคโปร์ในสายตา (1)...
สิงคโปร์ในสายตา (จบ)...
109 มองพิศ...
สีเปื้อนฟิล์ม
ศราวุธ ดวงจำปา...
ภาพเขียนของคนไม่มีบ้าน
นักศึกษา มศว...
ที่ว่างและช่องว่าง
ภาพเขียนวิจิตร...
เขียนภาพบูชาคุณ...
ตื่นของนอก
ตายก่อนดับ
ศิลปะ – มากกว่าแค่วาดรูป
ดูอาร์ตอย่างไรให้สนุก (1)
ดูอาร์ตอย่างไรให้สนุก (จบ)
หยุด-ยอม-เย็น
ขอนแก่น
คิดถึงมาก-คิดถึงเหลือเกิน
นุกูล ปัญญาดี สานฝัน...
เขียนสวนสมเด็จย่า...
“สามเหลี่ยมวัฒนธรรม”
อาร์ตอ้วนๆ
มากกว่าเขียนรูป...
แลใต้ผ่านงานศิลป์
หอศิลป์กระบี่...
เส้นสีเดินทาง...
สุเทพ จันทระ ...
สินบน
พรชัย ใจมา
เสียงดังเจ้าปัญหา
ควันบุหรี่บนภาพเขียน
แรกรู้จัก… “พู่กันสัญจร”
แปลงโฉมอาคาร
วัยหนุ่มของศิลปิน
อารมณ์ชีกอ
สีน้ำชุ่มฉ่ำ...
น้องชายที่แสนดี
  mail :: thinksea@hotmail.com

ที่ว่าง และ ช่องว่าง

เรื่องโดย....ฮักก้า :: thinksea@hotmail.com

คนบางคนต้องการ “ที่ว่าง” จำนวนหนึ่ง ขณะเดียวกันก็อยากกำจัด “ช่องว่าง”

ที่ว่างในที่นี้อาจหมายถึง ความเป็นอิสระ โลกส่วนตัว หรือไม่ก็พื้นที่เพื่อจะได้ทำอะไรอย่างที่ฝัน หรือทำอะไรดีๆให้สังคม

ส่วนช่องว่างนั้น ไม่ได้หมายถึงช่องของประตูหรือหน้าต่างแต่อย่างใด หากแต่หมายถึง สิ่งที่ทำให้คนเราไม่เท่าเทียมกัน ห่างไกล ไม่ใกล้ชิด ไม่คุ้นเคย ไม่ไยดี เป็นช่องว่างที่มีแต่จะทำให้คนไม่สัมพันธ์กัน ไม่เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน หันหลังให้กัน และก็เกิดกลายเป็นโลกของแต่ละกลุ่มแต่ละก๊ก ที่มีสังคมของตัวเอง แต่ไม่พยายามเข้าใจสังคมอื่น

คงไม่มีใครมานั่งวัดหรอกใช่ไหมว่าสังคมเรามีช่องว่างกันคนละกี่คืบ หรือ มีที่ว่างกันคนละกี่ตารางวา แล้วเพียงพอหรือยัง เพราะบางกรณี บางสิ่งบางอย่างมันถูกกำหนดให้วัดกันด้วยใจ แต่ถ้าเกิดว่าวันหนึ่งจะต้องถูกวัดด้วยมาตราวัดไหน สัดส่วนใด คนเราก็คงอยากจะมี “ที่ว่าง” มากกว่ามี “ช่องว่าง”

ที่ลำพูนและที่เชียงใหม่ กำลังจะมีงานสัมมนาศิลปะร่วมสมัยนานาชาติเกิดขึ้น ในหัวข้อ ต่างคนต่างอยู่(ร่วมกัน) กับศิลปะ หรือ PUBLIC ART IN(INTER)VENTION จัดขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย และ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นเวทีให้ศิลปินและผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะร่วมสมัย ตลอดจนนักศึกษา ชุมชน ครูอาจารย์ นักเรียนนักศึกษา และองค์กรที่เกี่ยวข้องทางด้านศิลปวัฒนธรรม ทั้งจากในและต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 220 ท่าน ได้อภิปรายและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดประสบการณ์

ตลอดจนร่วมกันเสนอมุมมองใหม่ๆในการสร้างสรรค์ชุมชน ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติการโดยใช้กิจกรรมศิลปะร่วมสมัย อีกทั้งยังเป็นการร่วมระดมความคิดและมองถึงความเป็นไปได้ของโครงการทางด้านศิลปะร่วมสมัยที่ควรจะได้รับการพัฒนาและผลักดันให้เกิดขึ้นจริงทั้งในบริบทท้องถิ่นและในระดับชาติ

งานนี้คนที่เป็นโต้โผสำคัญ ก็คือ นาวิน ลาวันย์ชัยกุล ศิลปินเจ้าของโครงการ "สุดขอบฟ้า" ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นปีที่แล้ว กับนิทรรศการชีวิตของศิลปินแห่งชาติชาวลำพูน อินสนธิ์ วงศ์สาม ที่เขาจัดแสดงขึ้น ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน เป็นเวลา 1 ปีเต็ม พร้อมกับกิจกรรมทางด้านศิลปะที่มีส่วนร่วมกับชุมชน

คราวนี้มีสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาร่า(กรุงเทพฯ) ร่วมขบวนด้วย โดยดึงเอา มูลนิธิ James H W Thompson,บริษัทผ้าไหมไทย จิม ทอมป์สัน,มูลนิธิเอเชีย-ยุโรป และ Asian Cultural Council,สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม,สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส,สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์,สถานเอกอัครราชทูตแคนนาดา,มูลนิธิญี่ปุ่น กรุงเทพฯ,บริติช เคาน์ซิล ประเทศไทย และเพชร โอสถานุเคราะห์ มาร่วมเป็นผู้สนับสนุน

นอกจากงานสัมมนาซึ่งมีขึ้น 4 วันเต็ม ระหว่างวันที่ 17 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จะจัดขึ้นเนื่องในโอกาสปิดโครงการ “สุดขอบฟ้า” ของนาวิน และการเล็งเห็นถึงประโยชน์และความเข้าใจที่จะตามมามากมาย
งานนี้ยังมีเป้าหมายที่จะช่วยลบช่องว่างที่นับวันจะมีมากขึ้นระหว่างผู้สร้างงานศิลป์กับผู้ชมทั่วไปในสังคม อีกทั้งเพื่อการเชื่อมประสานระหว่างกลุ่มศิลปินและองค์กรต่างๆทางสังคม อันเป็นแนวทางการพัฒนาศิลปะร่วมสมัยที่ยั่งยืนมากกว่า การจัดนิทรรศการในสถาบันเพียงครั้งคราวเท่านั้น เช่นเดียวกับที่มีโครงการอิสระจำนวนหนึ่ง พยายามนำเสนอศิลปะให้เข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนในระดับรากหญ้ามากยิ่งขึ้น

ฉันก็เป็นอีกคนหนึ่งหล่ะ ที่หวังว่ากิจกรรมแบบนี้จะทำให้ช่องว่างบางช่องว่างนั้นแคบลงได้จริง แม้เราจะไม่สามารถปิดช่องว่างนั้นไปตลอดกาลก็ตาม ส่วนเรื่องที่ว่าง งานนี้ยังพอมีที่ว่างสำหรับคนสนใจไปร่วมฟังแน่นอน ใครที่อยากมีที่ว่างเป็นของตัวเอง ต้องรีบสำรองที่ว่าง ไว้นั่งฟังด่วน ที่เบอร์ 053-890277

ไม่ว่าจะเป็น จุมพล อภิสุข (ศิลปินอิสระและผู้อำนวยการหอศิลป์บ้านตึก และผู้อำนวยการโครงการศิลปะ Asiatopia), ชัชวาล ทองดีเลิศ (กรรมการบริหารโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา, เชียงใหม่), คำรณ คุณดิลก (ผู้ก่อตั้งกลุ่มละครพระจันทร์พเนจร), ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช (ศิลปินอิสระ), Varsha Nair (ศิลปินอิสระและผู้ดำเนินงานโครงการ WOMANIFESTO, กรุงเทพฯ), Ong Keng Sen (ศิลปินอิสระและผู้อำนวยการ TheatreWorks, สิงคโปร์), Masahiro Ushiroshoji (อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยคิวชู, ฟูกูโอกะ), Hou Hanru (ภัณฑารักษ์อิสระ, ปารีส)

Tran Loung (ศิลปินและภัณฑารักษ์อิสระ, ฮานอย), Hans Ulrich Obrist (ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่, ปารีส), France Morin (ภัณฑารักษ์อิสระ, หลวงพระบาง/นิวยอร์ค), กฤติยา กาวีวงศ์ (ภัณฑารักษ์อิสระ), Ly Daravuth (ศิลปิน, ผู้ร่วมจัดตั้ง Reyum Institute for Arts and Culture, พนมเปญ) Lu Jie (ภัณฑารักษ์อิสระ และผู้อำนวยการ The Long March Project, ปักกิ่ง/นิวยอร์ค), Yuko Hasegawa, (หัวหน้าภัณฑารักษ์ 21th Century Museum of Contemporary Art, Kanazawa), Saskia Bos (ผู้อำนวยการ De Appel, อัมสเตอร์ดัม)

รวมถึง Jonathan Watkins (ผู้อำนวยการ Ikon Gallery, เบอร์มิงแฮม), Daniel Birnbaum (นักวิจารณ์ศิลปะและผู้อำนวยการ St' delschule Art Academy และศูนย์ศิลปะร่วมสมัย Portikus, ฟรังค์เฟริท์), Melissa Chiu (ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ Asia Society, นิวยอร์ค)

ชื่อทั้งหลายทั้งมวลจากหลายองค์กรที่ล้วนหวังดีกับวงการศิลปะร่วมสมัย เขาอุตส่าห์เดินทางมาไกลจากต่างที่ต่างทาง มาร่วมด้วยช่วยกัน ถ้าพลาดคงเสียดายแย่

แล้วพบกันที่ลำพูนและเชียงใหม่นะคะ



All content ฉ 2003 copyright 2003 Gomew.com, All rights reserved.
Commercial use is prohibited.Please read our terms of use.
Powered and Design by www.gomew.com
Contact Us at :: 4/1 Soi 12, Chotana Rd, T.Changpuek, A.Mueng, Chiang Mai 50300, Tel. 053-408771 Fax. 053-408771 Email. mew6@mew6.com