Creative internet & e-business solutions
Google
 
www www.mew6.com
ศิลปะ-ศิลปินการออกแบบบรรจุภัณฑ ์เพลง ทำเว็บทางนี้มีรัก
 
ศิลปะในสายตาฉัน
จ่าง แซ่ตั้ง
สมบูรณ์ หอมเทียนทอง
พู่กันของใคร?
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น
แกลลอรี่คนจน
ภาพของคนรักฝน
ฟรีด้า คาฮ์โล
นู้ดผู้หญิง...
Double Nature
กอด
เธอตัวจริงกับผู้หญิงในภาพ
ปั้นฝัน จึงปั้นดิน
ถ้าเรารักมัน มันก็เป็นของเรา
วิหารของเราเอง
"คนบ้า"หรือว่า"ช่างจิตรกร"
เหตุที่เขียนแม่ให้แปลกไป
ยุคสมัยที่เป็นเรา
รักเรายังหวานอยู่ ...
ล้านเส้นสี แสนกนก
กระป๋องซุป ของ แอนดี้
ถ้าไม่ดัง ขอให้ไพเราะ
ห้องเรียนศิลปะของ"ครูยิ่ง"
สิงคโปร์ในสายตา (1)...
สิงคโปร์ในสายตา (จบ)...
109 มองพิศ...
สีเปื้อนฟิล์ม
ศราวุธ ดวงจำปา...
ภาพเขียนของคนไม่มีบ้าน
นักศึกษา มศว...
ที่ว่างและช่องว่าง
ภาพเขียนวิจิตร...
เขียนภาพบูชาคุณ...
ตื่นของนอก
ตายก่อนดับ
ศิลปะ – มากกว่าแค่วาดรูป
ดูอาร์ตอย่างไรให้สนุก (1)
ดูอาร์ตอย่างไรให้สนุก (จบ)
หยุด-ยอม-เย็น
ขอนแก่น
คิดถึงมาก-คิดถึงเหลือเกิน
นุกูล ปัญญาดี สานฝัน...
เขียนสวนสมเด็จย่า...
“สามเหลี่ยมวัฒนธรรม”
อาร์ตอ้วนๆ
มากกว่าเขียนรูป...
แลใต้ผ่านงานศิลป์
หอศิลป์กระบี่...
เส้นสีเดินทาง...
สุเทพ จันทระ ...
สินบน
พรชัย ใจมา
เสียงดังเจ้าปัญหา
ควันบุหรี่บนภาพเขียน
แรกรู้จัก… “พู่กันสัญจร”
แปลงโฉมอาคาร
วัยหนุ่มของศิลปิน
อารมณ์ชีกอ
สีน้ำชุ่มฉ่ำ...
น้องชายที่แสนดี
  mail :: thinksea@hotmail.com

เขียนภาพบูชาคุณ “พุทธทาสภิกขุ”

เรื่องโดย....ฮักก้า :: thinksea@hotmail.com

เขียนภาพมาแล้วมากมาย ทั้งวาดโชว์และวาดแจก แต่ไม่บ่อยครั้งนักที่ เทพศิริ สุขโสภา ศิลปินใหญ่แห่งซอยวัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ จะถ่ายทอดเรื่องราวออกมาในเชิงพุทธศาสนา หรือ แม้แต่การเขียนภาพพระเณรรูปใดก็ตาม

หากว่าในงานครบรอบ “10 ปี การมรณภาพของ ท่านพุทธทาสภิกขุ” ณ ห้องประชุมศรีอยุธยา หอวชิราวุธ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ถ.สามเสน กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มพุทธทาสศึกษา กลุ่มเสขิยธรรม เครือข่ายชาวพุทธฯ มูลนิธิโกมลคีมทอง โครงการเวทีสุขภาพคนจน และสำนักพิมพ์สุขภาพใจ

ปรากฎว่ามีภาพเขียนของเทพศิริจำนวนหลายภาพ ถูกนำมาประมูลหารายได้เพื่อหาทุนจัดงานในปีต่อไป และที่มาของเรื่องราวในภาพแต่ละภาพนั้น เขียนขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงและบูชาพระคุณ ท่านพุทธทาสภิกขุ ภิกขุ แห่ง สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นการเฉพาะ

“สำหรับผมซึ่งเป็นนักอ่าน เราจะอ่านงานของท่านพระพุทธทาสมากทีเดียวหล่ะ โดยส่วนตัวเรา ประทับใจมาก เราเอามาใช้ในชีวิตเรา ถ้าหากไม่ได้ความคิดท่านเนี่ย บางทีเราอาจจะมืดบอด เราอาจจะแย่ยิ่งกว่านี้อีก ความคิดของท่านซึ่งอธิบายจากแง่มุมต่างๆ ซึ่งบางครั้งเราไม่เคยได้ยิน เอามาช่วยเราให้ลดไอ้ความมืดบอด ไอ้ความหลง ความโลภต่างๆ ช่วยได้เยอะ ลึกๆเราจึงรู้สึกขอบคุณ”

เทพศิริไม่ได้ประทับใจ ท่านพุทธทาส เพียงแค่ผ่านทางข้อเขียนหรือหลักธรรมเท่านั้น แต่ยังประทับที่ท่านได้เลือกหยิบเอางานศิลปะมาเป็นสื่อในการสอนธรรมะแก่ผู้คนด้วย

“ท่านเอารูปปั้น เอารูปเขียนมาสอนด้วย นั่นคือเอางานศิลปะมาสอน ซึ่งไม่มีพระองค์ไหนเลยที่ทำได้ละเอียดละเมียดละไม ได้เท่ากับท่านพุทธทาส อันนี้มันปรากฏชัดอยู่แล้ว ท่านไปเอารูปปั้นที่โน่น เอารูปเขียนที่นี่ มีแง่คิด บางทีก็มาจากศิลปินที่เราไม่รู้จักชื่อ และเราก็มองผ่านๆไป เอ๊ะ ..กลับมีแง่คิดมีความหมาย เช่นว่า ภาพนั่งสมาธิในปากงู โดยที่เขี้ยวพิษเขี้ยวงู มันไม่ทำร้ายเรา เหมือนกับเรานั่งอยู่ในโลกนี้ ในโลกแห่งความทุกข์เนี่ย แต่เราไม่เจ็บเราไม่หนัก

ท่านพุทธทาสเป็นคนที่จะให้ใช้ศิลปะเป็นสื่อในการสอนธรรมะ เราจะไม่ขอบคุณท่านได้อย่างไร และในประเทศนี้ใครเล่า บวชตลอดชีวิตแล้วค้นคว้า และพยายามย่อยให้เราฟังตลอดชีวิตเลย ใครจะไปล้ำหน้าท่านได้ พระอื่นอาจจะเก่ง แต่โอกาสที่เขียน โอกาสที่จะพูด อาจจะไม่มาถึงหูเรา หรือว่ามันไม่แพร่หลายเท่ากับท่าน”

ภาพชุดเกี่ยวกับท่านพุทธทาสภิกขุของเทพศิริ ถูกยืมไปใช้และประมูลหารายในหลายๆงาน โดยที่เจ้าตัวไม่เคยหวงแหน เพราะตั้งใจว่าจะเขียนภาพชุดนี้ขึ้นเป็นของขวัญแก่ผู้คนที่เกิดมาร่วมยุคสมัยกับท่านพุทธทาสภิกขุ เหมือนกันกับเขา ขณะที่ตัวเขาเองก็เลือกเก็บภาพบางภาพไว้ ดูเองที่บ้าน

“เราก็อยากทำอะไรที่เป็นการสนองคุณท่าน ขอบพระคุณท่าน ปี พ.ศ. 2549 จะครบ 100 ปีของท่าน นับตั้งแต่วันที่ท่านเกิดมา เราภูมิใจที่เกิดมาร่วมยุคสมัยกับท่าน สิ่งที่เราจะวาด เราก็อยากจะวาดเหมือนกับให้เป็นของขวัญแก่ผู้คนเขา เลือกวาดในช่วงเวลาที่ท่านจากไป นั่นก็คือวันเผาท่าน ผมไม่ได้เห็นบรรยากาศจริง แต่เห็นจากทีวี เห็นจากวีดีโอบ้าง ภาพถ่ายบ้าง แล้วก็มีคนช่วยเอามาให้เราดูบ้าง เห็นมาเยอะ เราก็จะหลอมภาพเรื่องราวในวันนั้นเข้าด้วยกัน บางภาพอาจจะไม่แจ่มชัด เราก็จะต้องฟังผู้คนให้มาก

เมื่อตะวันลับไปแล้ว ผู้คนเริ่มร่อยหลอ ใครบ้างที่ยังอยู่ในงานวันเผา และขณะที่บางช่วงตอนบ่ายก็มีฝนตก เราจะเขียนภาพ เราจะเขียนฝนตกมากน้อยแค่ไหน แสงแดดที่ชอนลงมา เราพยายามจับอารมณ์ความรู้สึกที่ เราคิดว่ามันจะงามและสงบอย่างที่เราคิดว่ามันเหมาะมันควร เช่นว่า บางทีเราก็ไม่เขียนเชิงตะกอน เราเอาเชิงตะกอนออกไปซะ แต่จุดนั้นมีสิ่งที่สว่างๆอยู่ แต่เราไม่ต้องเขียนโลง ไม่ต้องเขียนเปลวไฟจริงๆ แต่เขียนแสงสว่าง ณ ตรงนั้นในนาทีที่ท่านจากไป”

ภาพแรกๆ เทพศิริเริ่มจากการดรออิ้งก่อน จากดรออิ้งสีดำ ก็ค่อยๆลงสี สีไหนก็ได้ที่คิดว่าจะทำให้ภาพออกมาสวย บางทีอาจไม่กังวลว่าต้องเขียนให้เหมือนจริง อาจจะให้เงาบางจุดเป็นสีน้ำเงินเข้มๆ หรืออาจจะเป็นสีทอง อารมณ์ของภาพ ไล่ไปตั้งแต่บรรยากาศของยามเที่ยงวันไปจนถึงยามตะวันคล้อย จากแดดที่มันจัดจนแดดค่อยๆถอนตัว ขึ้นจับบนยอดไม้สูง พื้นดินเบื้องล่างเริ่มมืดทึม จนกระทั่งภาพที่เขียนขึ้นมีจำนวนมากชิ้นจนขี้เกียจนับ

“เราหวังว่ามันจะสวยเหมือนอย่างรูปเขียน เพื่อที่จะบูชาคุณท่าน”



All content ฉ 2003 copyright 2003 Gomew.com, All rights reserved.
Commercial use is prohibited.Please read our terms of use.
Powered and Design by www.gomew.com
Contact Us at :: 4/1 Soi 12, Chotana Rd, T.Changpuek, A.Mueng, Chiang Mai 50300, Tel. 053-408771 Fax. 053-408771 Email. mew6@mew6.com