Creative internet & e-business solutions
Google
 
www www.mew6.com
ศิลปะ-ศิลปินการออกแบบบรรจุภัณฑ ์เพลง ทำเว็บทางนี้มีรัก
 
ศิลปะในสายตาฉัน
จ่าง แซ่ตั้ง
สมบูรณ์ หอมเทียนทอง
พู่กันของใคร?
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น
แกลลอรี่คนจน
ภาพของคนรักฝน
ฟรีด้า คาฮ์โล
นู้ดผู้หญิง...
Double Nature
กอด
เธอตัวจริงกับผู้หญิงในภาพ
ปั้นฝัน จึงปั้นดิน
ถ้าเรารักมัน มันก็เป็นของเรา
วิหารของเราเอง
"คนบ้า"หรือว่า"ช่างจิตรกร"
เหตุที่เขียนแม่ให้แปลกไป
ยุคสมัยที่เป็นเรา
รักเรายังหวานอยู่ ...
ล้านเส้นสี แสนกนก
กระป๋องซุป ของ แอนดี้
ถ้าไม่ดัง ขอให้ไพเราะ
ห้องเรียนศิลปะของ"ครูยิ่ง"
สิงคโปร์ในสายตา (1)...
สิงคโปร์ในสายตา (จบ)...
109 มองพิศ...
สีเปื้อนฟิล์ม
ศราวุธ ดวงจำปา...
ภาพเขียนของคนไม่มีบ้าน
นักศึกษา มศว...
ที่ว่างและช่องว่าง
ภาพเขียนวิจิตร...
เขียนภาพบูชาคุณ...
ตื่นของนอก
ตายก่อนดับ
ศิลปะ – มากกว่าแค่วาดรูป
ดูอาร์ตอย่างไรให้สนุก (1)
ดูอาร์ตอย่างไรให้สนุก (จบ)
หยุด-ยอม-เย็น
ขอนแก่น
คิดถึงมาก-คิดถึงเหลือเกิน
นุกูล ปัญญาดี สานฝัน...
เขียนสวนสมเด็จย่า...
“สามเหลี่ยมวัฒนธรรม”
อาร์ตอ้วนๆ
มากกว่าเขียนรูป...
แลใต้ผ่านงานศิลป์
หอศิลป์กระบี่...
เส้นสีเดินทาง...
สุเทพ จันทระ ...
สินบน
พรชัย ใจมา
เสียงดังเจ้าปัญหา
ควันบุหรี่บนภาพเขียน
แรกรู้จัก… “พู่กันสัญจร”
แปลงโฉมอาคาร
วัยหนุ่มของศิลปิน
อารมณ์ชีกอ
สีน้ำชุ่มฉ่ำ...
น้องชายที่แสนดี
  mail :: thinksea@hotmail.com

สิงคโปร์ในสายตา (จบ) …“อาร์ตล้นใจ”

เรื่องโดย....ฮักก้า :: thinksea@hotmail.com


Construching Construction # 1


If Only I have a Durian Tree


ผลงานของ ซาวาดอร์ ดาลี
ศิลปินช่างจินตนาการ

มองตึกมองเมืองของสิงคโปร์ ทำให้ฉันหวนนึกถึงผลงานงานศิลปะเทคนิค Color Photographic Print ที่ชื่อ Construching Construction # 1 ของศิลปินชาวสิงคโปร์ Ng Teck Yong,Francis ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดจากเวที ASIAN ART AWORDS 2002 ปีเดียวกันกับที่ศิลปินรุ่นใหม่ของไทยเรา จารุวัตร บุญแวดล้อม จากรั้วมหาวิทยาลัยศิลปากร คว้ารางวัลรองชนะเลิศจากภาพที่ชื่อ New Vistion On Culture มาครอง

ดูเหมือนสิงคโปร์เป็นเมืองที่ไม่เคยหยุดนิ่งในเรื่องของการก่อสร้าง การเกิดขึ้นของตึกใหม่ๆ มีให้เห็นอยู่ทั่วทุกย่านของเมืองเลยก็ว่าได้

หลังจากกลับจากสิงคโปร์ ฉันมีโอกาสได้พบกับศิลปินรุ่นใหญ่ชาวสิงคโปร์ชื่อ Goh Beng Kwon ที่ภูเก็ต ด้วยเขาเป็นศิลปินคนหนึ่งที่ถูกเชิญมาร่วมค่ายศิลปะ “แต่งแต้มไข่มุกอันดามัน วาดฝันเมืองภูเก็ต”

Goh Beng Kwon เล่าให้ฉันฟังว่าที่สิงคโปร์จะมีหน่วยงานหนึ่งซึ่งดูแลเรื่องตึกเรื่องอาคารโดยเฉพาะ ในทุกๆ 10 ปี จะมีเจ้าหน้าที่มาถามเอากับเจ้าของตึกว่า ต้องการที่จะสร้างตึกใหม่หรือไม่ ถ้าเจ้าของตกลง หน่วยงานก็จะเป็นผู้ออกทุนในการรื้อถอนให้ ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราให้เรามองไปทางไหนของเมืองเจริญอย่างสิงโปร์ จึงได้พบเห็นแต่การก่อสร้าง และก่อสร้าง

Goh Beng Kwon ยังบอกอีกว่า ที่สิงโปร์มีหน่วยงานที่ควบคุมเรืองสีตึกสีอาคารอีกด้วย โดยมีกฎข้อบังคับว่า อาคารทุกอาคารจะต้องทาสีโดยจะทาสีอะไรก็ได้ แต่ห้ามไม่ทา และมีบังคับว่าทุก 5 ปี อาคารของเอกชนและการเคหะ จะต้องทาสีอาคารเสียใหม่

ใครบางคนอาจชอบมองเวลาที่ผ่านไปบนถนนบางสาย แล้วได้เห็นตึกเห็นอาคารอันมีสีสันเยอะแยะเต็มไปหมด แต่สำหรับเจ้าถิ่นอย่าง Goh Beng Kwon เขากลับบอกว่า “สีมันเยอะเกิน” แตกต่างจากประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีหน่วยงานควบควมเรื่องสีได้ดีกว่านี้

จากการพูดคุยกับเขา ฉันก็ได้รับคำตอบอีกว่า เหตุผลที่สิงคโปร์ มีแต่รถใหม่ๆ แล่นอยู่บนถนน ก็เพราะว่า เจ้าของรถยนต์คันไหนที่ใช้รถยนต์ยิ่งเก่า ก็ยิ่งต้องเสียภาษีแพงมากขึ้นเท่านั้น เลยทำให้เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง เจ้าของรถต้องขายรถคันเก่าไป แล้วถอยรถใหม่ออกมาวิ่งแทน

จะมีแต่บรรดานักเลงเล่นรถเก่ากระเป๋าหนักเท่านั้น ที่ยอมจ่ายแพงต่อไป

ในวันสุดท้ายของการไปเยือนสิงคโปร์กับทริป “ตามรอยพระเจ้ากรุงสยาม” เส้นทาง กรุงเทพฯ - หว้ากอ – ภูเก็ต- สิงคโปร์ - มะ ละกา ซึ่งจัดขึ้นโดย มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์

พวกเราที่ร่วมทริปไปด้วยกันถูกปล่อยให้ไปย่ำไหนต่อไหนได้ตามใจชอบ ขณะที่เพื่อนๆ บางกลุ่มเลือกไปเดินเที่ยว ย่านคนแขก Little India ต่อด้วยย่าน ChinaTown แต่ฉันกับเพื่อนบางคนสมัครใจที่ไปเดินเที่ยวบนถนน ORCHARD ก่อน

ไม่ใช่เพราะมันเป็นย่านที่มีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ผุดขึ้นอยู่แน่นขนัดหรอกนะ เพราะเราไม่ได้มีเงินพอที่จะใช้จ่ายได้มือเติบขนาดนั้น แต่เป็นเพราะมันเป็นเส้นทางที่จะนำฉันและเพื่อนไปได้ถึง Singapore Art Museum ด้วยการเดินเท้า ได้โดยไม่น่าเบื่อหน่ายเกินไปนัก ตามคำแนะนำของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ วิทยากรท่านหนึ่งของเรา ที่เคยมาย่ำเท้าเล่นบนถนนนี้อยู่บ่อยหน ในยามที่ไปเยือนสิงคโปร์ด้วยภารกิจอื่น

ฉันแวะซื้อหนังสือ ประวัติชีวิตและงานของแวนโก๊ะ ที่ร้านหนังสือ BORDERS ก่อนจะไปฝากไว้ที่ร้านขายโคมไฟ บนห้างๆหนึ่ง จากนั้นฉันและเพื่อนจากนิตยสาร “ฟ้าเดียวกัน” ก็ฝ่าเปลวแดดที่กำลังเต้นระริกไปยัง Singapore Art Museum

ระยะทางจากร้านหนังสือ BORDERS ไป Singapore Art Museum ทำเอาเราเหนื่อยหอบได้เหมือนกัน แต่เมื่อได้ไปถึงก็ต้องบอกกับตัวเองว่าตัดสินใจไม่ผิดเลยที่แวะไป มันคุ้มเกินคุ้ม สำหรับงานศิลปะร่วมสมัยของบรรดาศิลปะแต่ละคนที่กำลังอยู่ในช่วงแสดงงาน

ไม่ว่าจะเป็นงานประติมากรรมของ Ju Ming จากใต้หวัน ที่เล่นกับพื้นที่กลางแจ้งของมิวเซียมได้อย่างน่ารัก จนอดไม่ได้ที่จะลั่นชัตเตอร์เก็บภาพฝาก

เดินขึ้นไปบนอาคาร ฉันชอบงานศิลปะชุด Speckraft จากมาเลเซีย ที่ดูเหมือนว่าต้องการจะสื่อเรื่องของ การค้าขายวุธสงคราม ที่เวลานี้เปรียบได้กับสินค้าสะดวกซื้อไปแล้ว แถมยังมีการโฆษณาชวนเชื่อในการซื้อขายอาวุธสงคราม ทำนองนั้น

มีงานของศิลปินไทยเราจาก โปรเจค 304 ไปร่วมด้วยเหมือนกัน แต่ดูท่าจะถูกงานของศิลปินชาติอื่นเรียกความสนใจไปได้มากกว่า

หลังจากที่หยุดแวะดูนักศึกษาชาวสิงคโปร์ซึ่งเป็นอาสาสมัครมาทำ Workshop ให้กับเด็กๆ ฉันก็ผ่านเข้าไปดูห้องที่แสดงงานเพ้นท์ติ้งของศิลปิน Tan Swie Hian ฉันขำกับตัวเองในตอนที่หยุดมองดูภาพที่ชื่อ If Only I have a Durian Tree ของเขา

ก็ในวันแรกที่ไปถึงวิทยากรทั้งหลายบอกเล่าให้พวกเราฟังว่า ทุเรียน ที่บางคนไม่ต้องชะตาด้วย มันเป็นถึงราชาผลไม้ของสิงคโปร์เชียวนะ แต่พวกเขาไม่ได้ชอบกินทุเรียนหมอนทอง เหมือนบ้านเราหรอก ตรงกันข้ามกับชอบทุเรียนที่ถูกปล่อยให้เนื้อเกือบจะเละแล้ว ของพันธุ์ ก้านยาว และชะนีไข่

ฉันต้องยอมรับแล้วหล่ะว่า ไอ้ผลไม้มีหนามอย่างทุเรียนนั้น มันเป็นผลไม้ที่วิเศษสำหรับชาวสิงคโปร์ขนาดไหน เพราะมันสร้างแรงบันดาลใจให้ศิลปินได้ถึงขนาดที่ต้องถ่ายทอดออกมาเป็นภาพเขียน

เด็กหญิงตัวเล็กๆ ที่วิ่งมาจ้องภาพชิ้นเดียวกันกับฉัน นอกจากเธอจะพยักหน้าตอบฉันแล้ว คุณแม่ของเธอยังช่วยยืนยืนอีกทางเลยว่า ลูกสาวคนนี้โปรดปรานทุเรียนมากๆ

สำหรับฉันแล้วงานศิลปะใน Singapore Art Museum มีให้เดินชมได้เป็นวันก็ไม่รู้สึกเบื่อ แต่พวกเราต้องทำเวลาเพื่อให้ทันกับการเดินทางกลับกรุงเทพฯในช่วงเย็น และเพื่อจะได้มีเวลาไปย่ำรอยเดิมของเพื่อนๆอีกกลุ่มที่ย่าน Little India ด้วย

ไปสิงคโปร์ครั้งแรกนี้ ฉันดีใจที่ได้มีโอกาสไปผลงานจริงของ ซาวาดอร์ ดาลี ศิลปินช่างจินตนาการ ที่ใครหลายคนบอกว่าเขาบ้า และงานอาร์ตอ้วนๆของ Botero ในย่าน Raffles Place ย่านการเงินและการธนาคารที่สำคัญของสิงคโปร์

งานทั้งสองชิ้นนี้ ธนาคาร UOB หรือ United OverSea Bank ซื้อมาได้ประมาณเกือบ 10 ปี แล้วเห็นจะได้ คนที่แฟนของศิลปินทั้งสอง ไปสิงคโปร์มีเวลาก็อย่าลืมไปแวะชม ส่วนฉันตอบได้คำเดียวว่าตื่นตา

มีข่าวมาแจ้งด้วยว่า ในช่วงระหว่าง วันที่ 9 ธันวาคม 2547 – 27 กุมภาพันธ์ 2548 ที่ Singapore Art Museum จะมีผลงานของ Botero มาแสดงให้ชมเป็นนิทรรศการด้วย คนที่ไปเยือนสิงคโปร์ในช่วงเวลาเดียวกัน ไม่ควรไปชมผลงานของ Botero ที่ติดตั้งอยู่ในย่าน Raffles Place เพียงที่เดียว แต่ควรแวะไปชมนิทรรศการของเขาด้วย เพราะการที่จะได้ชมงานของ Botero ในบ้านเราไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

บางมุมของสิงคโปร์ในสายตาฉัน อาจดูไร้ชีวิตชีวา แต่เมื่อมองไปถึงที่มาที่ไปของเมืองๆนี้ ที่เคยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อย่างเข้าใจแล้ว สิงคโปร์ก็ดูเหมือนมีความหมายขึ้นมามากสำหรับฉัน ในฐานะที่มันยังเป็นเมืองที่มีคนทำงานศิลปะ มีงานศิลปะดีๆ ให้เราได้ชมอยู่เหมือนกัน

แม้ Goh Beng Kwan จะบอกกับฉันว่า คนสิงคโปร์โดยทั่วไปสนใจเรื่องการกินมากกว่าการชมงานศิลปะก็ตาม เป็นต้นว่าถ้าเป็นเรื่องต้องเสียเงิน ยากนักที่จะหาเวลาไปชม แต่อย่างน้อยการที่ได้รับรู้ว่ารัฐบาลมีหน่วยงานที่ชื่อ NAC เช่าพื้นที่การเคหะหลายห้อง เพื่อให้ศิลปินด้านทัศนศิลป์ ราว 30 คน ได้ใช้เป็นพื้นที่สำหรับสร้างงาน

ก็เท่ากับรัฐบาลได้มองเห็นแล้วว่า “ความเจริญอย่างเดียวอาจไม่พอ แต่พลเมืองต้องมีศิลปะในหัวใจด้วย”

   
       

อาร์ตอ้วนๆของ Botero




All content ฉ 2003 copyright 2003 Gomew.com, All rights reserved.
Commercial use is prohibited.Please read our terms of use.
Powered and Design by www.gomew.com
Contact Us at :: 4/1 Soi 12, Chotana Rd, T.Changpuek, A.Mueng, Chiang Mai 50300, Tel. 053-408771 Fax. 053-408771 Email. mew6@mew6.com