Creative internet & e-business solutions
Google
 
www www.mew6.com
ศิลปะ-ศิลปินการออกแบบบรรจุภัณฑ ์เพลง ทำเว็บทางนี้มีรัก
 
ศิลปะในสายตาฉัน
จ่าง แซ่ตั้ง
สมบูรณ์ หอมเทียนทอง
พู่กันของใคร?
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น
แกลลอรี่คนจน
ภาพของคนรักฝน
ฟรีด้า คาฮ์โล
นู้ดผู้หญิง...
Double Nature
กอด
เธอตัวจริงกับผู้หญิงในภาพ
ปั้นฝัน จึงปั้นดิน
ถ้าเรารักมัน มันก็เป็นของเรา
วิหารของเราเอง
"คนบ้า"หรือว่า"ช่างจิตรกร"
เหตุที่เขียนแม่ให้แปลกไป
ยุคสมัยที่เป็นเรา
รักเรายังหวานอยู่ ...
ล้านเส้นสี แสนกนก
กระป๋องซุป ของ แอนดี้
ถ้าไม่ดัง ขอให้ไพเราะ
ห้องเรียนศิลปะของ"ครูยิ่ง"
สิงคโปร์ในสายตา (1)...
สิงคโปร์ในสายตา (จบ)...
109 มองพิศ...
สีเปื้อนฟิล์ม
ศราวุธ ดวงจำปา...
ภาพเขียนของคนไม่มีบ้าน
นักศึกษา มศว...
ที่ว่างและช่องว่าง
ภาพเขียนวิจิตร...
เขียนภาพบูชาคุณ...
ตื่นของนอก
ตายก่อนดับ
ศิลปะ – มากกว่าแค่วาดรูป
ดูอาร์ตอย่างไรให้สนุก (1)
ดูอาร์ตอย่างไรให้สนุก (จบ)
หยุด-ยอม-เย็น
ขอนแก่น
คิดถึงมาก-คิดถึงเหลือเกิน
นุกูล ปัญญาดี สานฝัน...
เขียนสวนสมเด็จย่า...
“สามเหลี่ยมวัฒนธรรม”
อาร์ตอ้วนๆ
มากกว่าเขียนรูป...
แลใต้ผ่านงานศิลป์
หอศิลป์กระบี่...
เส้นสีเดินทาง...
สุเทพ จันทระ ...
สินบน
พรชัย ใจมา
เสียงดังเจ้าปัญหา
ควันบุหรี่บนภาพเขียน
แรกรู้จัก… “พู่กันสัญจร”
แปลงโฉมอาคาร
วัยหนุ่มของศิลปิน
อารมณ์ชีกอ
สีน้ำชุ่มฉ่ำ...
น้องชายที่แสนดี
  mail :: thinksea@hotmail.com

นุกูล ปัญญาดี สานฝัน “ห้องศิลปะโรงเรียนบ้านน้ำเค็ม”

เรื่องโดย....ฮักก้า :: thinksea@hotmail.com


นุกูล ปัญญาดี


อาคารห้องศิลปะโรงเรียน
บ้านน้ำเค็มซึ่งกำลังก่อสร้าง


โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม


ซ้ายมือสุด - ทวิช จิตร์ประสานต์
อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม

หลังจากเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์ “สึนามิ” ที่กวาดล้างทำลายชีวิตทรัพย์สินพี่น้อง 6 จังหวัดอันดามัน คนทำงานศิลปะหลายๆคนก็พลอยหมดภาพเขียนกันไปคนละหลายภาพ ด้วยเพราะนำภาพของตัวเองไปร่วมจัดกิจกรรมประมูลหารายได้ ไปช่วยทรัพย์น้ำตาผู้ประสบภัย

ศิลปินบางคนเงินติดกระเป๋านั้นมีไม่มาก ทว่าภาพเขียนของพวกเขามีราคา การนำภาพออกประมูลจึงเป็นทางเลือกๆ หนึ่งที่พวกเขาพอจะคิดทำเพื่อช่วยเหลือสังคมได้

นอกจากนั้นก็มีศิลปินบางคนที่กดโทรศัพท์ถึงบรรดาลูกศิษย์ที่ตนเคยสอนเขียนรูป ให้ช่วยเหลือบริจาคทรัพย์กันตามแต่กำลังศรัทธา ลูกศิษย์หลายคนไม่รอช้า โอนเงินเข้าบัญชีให้ หรือไม่บางคนก็นำเงินสดใส่ซองมามอบให้ให้กับมือ โดยที่ไม่ขอเปิดเผยนามเอาหน้า

ขณะที่ครูศิลปินก็มอบปฎิทินที่ตีพิมพ์ผลงานภาพเขียนสีน้ำของตน ตอบแทนน้ำใจลูกศิษย์ ซึ่งเป็นภาพเขียนชุดเดียวกันกับที่มีเพื่อนเจ้าของโรงพิมพ์มาขอไปทำเป็นปฏิทินแจกลูกค้าไว้ก่อนหน้า

เมื่อถึงคราวที่ต้องช่วยเหลือกัน เจ้าของโรงพิมพ์จึงกันปฏิทินจำนวนหนึ่งไว้ให้เพื่อนศิลปินตามคำขอ ไปมอบให้แก่ลูกศิษย์ที่ช่วยบริจาคเงิน

ศิลปินที่กล่าวถึงนี้ คือคุณ นุกุล ปัญญาด ศิลปินสีน้ำชื่อดังคนหนึ่งของบ้านเรา ซึ่งเจ้าตัวมีพื้นเพเป็นคนบ้านบางม่วง ต.บางม่วง อ. ตะกั่วป่า จ.พังงา หมู่บ้านซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกันกับหมู่บ้านน้ำเค็ม ที่เรารู้จักกันดีในช่วงเกิดเหตุการณ์สึนามิ แต่อย่างไรก็ตามคุณนุกูลก็รู้สึกเสมอว่าทั้งชาวบ้านบางม่วงและบ้านน้ำเค็ม ล้วนเป็นญาติพี่น้องของตน

คุณนุกูลเล่าให้ฟังว่า ช่วงที่เขาเกิดบ้านน้ำเค็มนั้นมีเพียงไม่กี่หลังคาเรือน ซึ่งล้วนแต่เป็นคนดั้งเดิมที่ย้ายมาจากบ้านบางม่วง ขณะที่เวลานั้นโรงเรียนบ้านน้ำเค็มก็ยังไม่มี แต่ในยุคบูมของการทำเหมืองแร่ในทะเล คนจากต่างที่ต่างทางต่างเดินทางไปรับจ้างกันที่นั่น โดยเฉพาะแรงงานจากภาคอีสาน

นอกเหนือจากบรรดานักการเมือง และนายทุนจากเมืองหลวง ชาวบ้านในพื้นที่เองรวมถึงหมู่บ้านบางม่วงด้วยก็หันไปทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ในทะเลเป็นจำนวนมาก

ถึงวันหนึ่งบอบช้ำประสบปัญหาธุรกิจล้มระเนระนาด หมดยุคบูมของเหมืองแร่ แร่ในทะเลมีน้อยลง ทั้งคนไปอยู่ใหม่และคนอยู่เก่าก็ยังคงยืนหยัดอยู่ที่เดิม จากที่เคยอาศัยอยู่ชั่วคราวก็กลายเป็นเจ้าของที่ไปโดยปริยาย

เมื่อเกิดลูกเด็กเล็กแดงเกิดขึ้นมามากและถึงวัยที่ต้องเข้าโรงเรียนกัน โรงเรียนบ้านน้ำเค็มจึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับ เป็นช่วงเวลาใกล้ๆกันกับที่คุณนุกูลได้เรียนจบชั้นมัธยมจากโรงเรียนตะกั่วป่าเสนานุกูล และได้เดินทางจากบ้านมาเพื่อมาเรียนศิลปะในเมืองหลวงแล้ว

คืนวันที่ 25 ธันวาคม 2547 คุณนุกูลบอกจำได้ว่า เพิ่งกลับจากการไปจัดงานเลี้ยงวันเกิดให้กับครูสีน้ำ อารี สุทธิ์พันธุ์ ที่ มศว.ประสานมิตร ตื่นเช้ามาวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ทราบข่าวจากทางทีวีว่าเกิดคลื่นยักษ์ถล่มหมู่บ้านน้ำเค็มและอีกหลายพื้นที่ ทำให้ตกใจมาก เพราะเป็นพื้นที่บ้านเกิดของตน

ในช่วง 2- 3 วันแรกนั้นติดต่อกับทางบ้านไม่ได้ แต่หลังจากนั้นทางบ้านก็ติดต่อกลับมาให้คลายหายห่วง แต่ก็ได้รับข่าวว่าหลานสาวซึ่งเป็นลูกสาวของพี่สาวคนโตของคุณนุกูลหายไปหนึ่งคน

หลังจากนั้นไม่นานคุณนุกูลจึงได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากบรรดาลูกศิษย์ กระทั่งได้เงินมาจำนวนหนึ่ง และก่อนที่จะเดินทางไปเขียนภาพที่ลาว คุณนุกูลจึงได้ขับรถลงใต้ไปดูพื้นที่เกิดเหตุกับบรรดาเพื่อนศิลปินว่ายังมีส่วนไหนที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ และส่วนไหนที่มีการช่วยเหลือกันไปมากแล้ว เพราะไม่อยากให้เกิดเป็นการช่วยเหลือที่ซ้ำซ้อน ไม่ถูกจุด

เมื่อได้พบและพูดคุยกับ อาจารย์ปัญญา ลิ่มสงวน ครูศิลปะแห่งโรงเรียนน้ำเค็ม ซึ่งได้มีโครงการที่จะทำห้องศิลปะของโรงเรียนขึ้น โดยใช้ทุนก่อสร้างจากวิทยาลัยเทคนิคพังงาและอาศัยแรงงานจากช่างซึ่งเป็นคนกลุ่มเดียวกันกับที่ไปช่วยสร้างอาคารและบ้านพักชั่วคราวให้กับชาวบ้านผู้ประสบภัย

หลังจากที่นำเงินส่วนตัวของตัวเอง 5 หมื่นบาทไปช่วยซื้อโต๊ะคอมพิวเตอร์ให้กับเด็กๆ โรงเรียนบ้านน้ำเค็มแล้ว คุณนุกูลจึงตัดสินใจว่าเงินบริจาคจำนวน 3 แสนกว่าบาทรวมทั้งเงินสมทบของตนน่าจะมอบให้เป็นทุนช่วยเหลือในการทำห้องศิลปะดีที่สุด และก็ได้รับปากทางอาจารย์ปัญญา และ อาจารย์ทวิช จิตร์ประสานต์ อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนบ้านน้ำเค็มไว้ด้วยว่าจะไปช่วยออกแบบห้องศิลปะให้

เพียงแต่รอเวลาให้ช่างขึ้นตัวโครงอาคารเสร็จเรียบร้อย และรอเวลาให้งานแสดงเดี่ยวภาพเขียนของตนชุด NUKOON 2005 ที่จะมีขึ้น ณ หอศิลป์จามจุรีในช่วงเดือนมิถุนายนผ่านพ้นไปก่อน จะได้ไม่ต้องมีเรื่องที่ต้องกังวลใจ

“ตอนนี้ผมซีเรียสกับงานแสดงเดี่ยวของผมมาก แทบไม่มีเวลาเลย แม้จะพักสอนสีน้ำมาระยะหนึ่งแล้วก็ตาม ไหนจะมีกิจกรรมอื่นดึงเวลาผมไปอีก ยังไงก็ตามผมก็รอให้เขาสร้างตัวอาคารก่อน ถ้ามันเสร็จก่อนที่ผมแสดงเดี่ยว ผมก็จะขอเลื่อนเวลาไปสักนิดนึง เมื่อเสร็จแล้วผมจะเดินทางลงใต้ไปตั้งหน้าตั้งตาช่วยเขาทำห้องศิลปะได้เต็มที่ แต่ถ้าอาคารมันเสร็จทีหลังก็ไม่มีปัญหา

แต่เวลานี้ผมได้ปรึกษาหารือกับเพื่อนๆแล้วว่า จะทำอย่างไรดีกับอุปกรณ์ที่จะทำให้เด็ก คือผมจะพยายามหาเพื่อนหรือหาใครที่เขาสามารถที่จะดัดแปลงทำอุปกรณ์สื่อการเรียนศิลปะ จากแทนที่เขาเคยทำขาย 10 บาท เขาคิดเราสัก 5 บาทได้ไหม ไม่เอากำไรได้ไหม เพื่อจะได้ช่วยกันทำบุญ ส่วนเวลานี้ เงินบริจาคที่มีอยู่ ผมก็คิดว่าจะยังไม่เคลื่อนไหวอะไรทั้งสิ้น รอทางโรงเรียนสร้างอาคารเสร็จเสียก่อน เพราะถ้าซื้อพวกของมาเก็บไว้ตอนนี้ ก็ไม่รู้จะเอาไปเก็บไว้ที่ไหน รอให้อาคารเสร็จ รอให้ทางอาจารย์ปัญญาเสนอมาว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้าง มีอะไรที่ต้องขาดและต้องการความช่วยเหลืออีกผมให้เกียรติกับบรรดาลูกศิษย์ที่เขาช่วยบริจาคเงินมาก่อนหน้า อยากให้เขาเห็นเป็นรูปธรรม

จริงๆแล้วขาตั้งเขียนรูป อาจารย์ปัญญาบอกว่าอยากได้สักสองสามตัวก็พอ ให้เด็กได้เรียนรู้ให้ได้มาดูว่าเวลาวาดภาพ การวางภาพ การตั้งกระดาน วางกระดาษ บางทีตั้งกับโต๊ะมันไม่สะดวก เด็กที่เรียนต่อคลาสหนึ่งที่เรียนต่อครั้งประมาณสัก 35 คน ผมคิดว่าถ้าสแตนเขียนรูปมันไม่แพงนักผมก็คิดว่าน่าจะใช้สัก 40 ตัวเลย ให้เด็กได้หมุนเวียนกันเข้าไปใช้ ผมก็พยายามหาเพื่อนที่เขาทำสแตนให้เขาทำถูกๆให้หน่อยได้ไหม ดีไซน์ให้มันง่ายๆที่มันจะต้องไม่ใช้เงินมากนัก บอกอาจารย์ปัญญาว่า 3-4 ตัวอย่าเอาไปเลย เด็กเรียนรู้ไม่ได้อะไรมากหรอก เวลาถึงชั่วโมงเรียน เด็กเขาจะได้ใช้กันคนละอันไปเลย”

ด้านอาจารย์ปัญญา ลิ่มสงวนแห่งโรงเรียนบ้านน้ำเค็มนั้น คุณนุกุลบอกว่ารู้จักกันมานานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยที่คุณนุกูลยังไม่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ เสียอีก อาจารย์ปัญญามีความรักในด้านศิลปะ แต่ความไม่พร้อมทางครอบครัว ทำให้ต้องไปเรียนในระดับ ปวช.ด้านก่อสร้าง

แต่ก็ใช้ความรักในศิลปะไปประกอบอาชีพรับจ้างเขียนป้ายโฆษณา และโปสเตอร์หนังเรื่อยมา พร้อมกับรับหน้าที่เป็นครูสอนศิลปะในโรงเรียนระดับประถมของจังหวัดพังงา ในหลายพื้นที่ จนกระทั่งย้ายมาสอนที่โรงเรียนบ้านน้ำเค็มในที่สุด สอนที่โรงเรียนบ้านน้ำเค็มได้ 9 ปีแล้ว และที่อื่นๆอีกรวมกันก็กว่า 23 ปี โดยเป็นครูสอนศิลปะตลอดมา

จนกระทั่งเวลานี้โรงเรียนบ้านน้ำเค็มมีการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่ถึงชั่วโมงเรียนศิลปะทีไรก็เป็นไปด้วยความขลุกขลัก นักเรียนต้องแปลงโต๊ะเรียนที่เคยเรียนวิชาอื่นใช้เป็นพื้นที่เรียนศิลปะ ขณะที่วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนศิลปะก็ยังมีไม่เพียงพอ เพราะงบที่ได้มาจากรัฐบาลในแต่ละปี ต้องแจกจ่ายไปให้กับภาควิชาอื่นๆด้วย

เมื่ออาจารย์ปัญญาได้พบกับคุณนุกูล ได้บอกเล่าและแลกเปลี่ยนถึงเป้าหมายของการสอนศิลปะของตน ที่อยากเห็นเด็กๆ ได้เรียนศิลปะกันอย่างเต็มที่ ขณะที่คุณนุกูลเองก็จำภาพของตัวเองสมัยเป็นเด็กนักเรียนชั้นประถมได้ว่า ได้เรียนศิลปะเพียงอาทิตย์ละชั่วโมงเท่านั้น หนำซ้ำเวลานั้นก็ยังไม่รู้ด้วยว่าวิชาศิลปะคืออะไร เพียงแต่คราวใดที่หวนระลึกถึง จำได้ว่าเคยเป่าสีเล่นกับเพื่อนๆ ด้วยความสนุก

ถึงวันนี้ได้เดินทางตามเส้นทางที่ตัวเองรักและถนัด คือการทำงานศิลปะ เมื่อได้มองย้อนกลับไปก็ไม่เคยลืมถึงความยากลำบากของเด็กบ้านนอกคนหนึ่งที่ต้องดิ้นรนเข้าเมืองกรุง เพื่อที่จะได้เรียนศิลปะ ขณะที่ครอบครัวทางบ้านก็แทบไม่มีเงินเหลือติดบ้านอยู่แล้ว เพราะต้องบอบช้ำกับปัญหาการประกอบอาชีพเช่นชาวบ้านรายอื่นๆ ในยุคที่ผู้คนตื่นตากับแร่หนึ่งกระป๋องนมที่มีราคาหลักร้อย

เรือสองลำที่เคยใช้ประกอบอาชีพ ก็ถูกคลื่นซัดหายไป แม้เวลานั้นมันมิใช่คลื่นยักษ์สึนามิ แต่ก็มีพลังมากพอที่จะทำให้ครอบครัว ซึ่งมีพ่อ แม่ พี่สาวและพี่ชาย ต้องตกอยู่ในภาวะที่ต้องลำบากอย่างมาก ต้องไปรับจ้างร่อนแร่กับธุรกิจของชาวบ้านคนอื่นที่ยังมีอยู่ คุณนุกูลจึงเข้าใจลึกซึ้งดีว่า การมีห้องศิลปะที่ดีนั้นมีความจำเป็นสำหรับเด็กๆมากแค่ไหน

ดังนั้นคุณนุกูลมีความตั้งใจที่จะใช้เงินที่ลูกศิษย์บริจาคมา ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากที่สุด นอกจากมีห้องศิลปะแล้ว ก็ได้เสนอให้โรงเรียนบ้านเค็มทำห้องสมุดขึ้นด้วย ขณะที่ตนจะขอบริจาคหนังสือจากเพื่อนฝูง คนรู้จักและคนที่พร้อมจะช่วยเหลือ ไปให้เด็กๆได้มีหนังสือดีๆไว้อ่านกัน

เวลานี้ตัวอาคารห้องศิลปะและห้องสมุดซึ่งอยู่ในอาคารหลังเดียวกัน จากการสอบถามไปทางโรงเรียนบ้านน้ำเค็ม การก่อสร้างมีความก้าวหน้าไปกว่า 70 % แล้ว ทางครูศิลปะแห่งบ้านเค็ม อย่างอาจารย์ปัญญาก็ได้แจ้งให้ทราบว่า กำลังติดต่อเพื่อนฝูงที่มีความรู้ในเรื่องการทำผ้าบาติก มาช่วยสอนการทำบาติก เพื่อเสริมในวิชาเรียนศิลปะให้กับเด็กๆด้วย

หลายๆอย่างกำลังเดินหน้าขับเคลื่อนไปด้วยดี ใครที่ต้องการช่วยเหลือเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆร่วมกัน และอยากช่วยสานฝันให้ห้องศิลปะและห้องสมุดแห่งโรงเรียนบ้านน้ำเค็มเป็นจริง ติดต่อไปได้ที่คุณ นุกูล ปัญญาดี โทร. 0-1811-1613

All content ฉ 2003 copyright 2003 Gomew.com, All rights reserved.
Commercial use is prohibited.Please read our terms of use.
Powered and Design by www.gomew.com
Contact Us at :: 4/1 Soi 12, Chotana Rd, T.Changpuek, A.Mueng, Chiang Mai 50300, Tel. 053-408771 Fax. 053-408771 Email. mew6@mew6.com