Creative internet & e-business solutions
Google
 
www www.mew6.com
ศิลปะ-ศิลปินการออกแบบบรรจุภัณฑ ์เพลง ทำเว็บทางนี้มีรัก
 
ศิลปะในสายตาฉัน
จ่าง แซ่ตั้ง
สมบูรณ์ หอมเทียนทอง
พู่กันของใคร?
ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น
แกลลอรี่คนจน
ภาพของคนรักฝน
ฟรีด้า คาฮ์โล
นู้ดผู้หญิง...
Double Nature
กอด
เธอตัวจริงกับผู้หญิงในภาพ
ปั้นฝัน จึงปั้นดิน
ถ้าเรารักมัน มันก็เป็นของเรา
วิหารของเราเอง
"คนบ้า"หรือว่า"ช่างจิตรกร"
เหตุที่เขียนแม่ให้แปลกไป
ยุคสมัยที่เป็นเรา
รักเรายังหวานอยู่ ...
ล้านเส้นสี แสนกนก
กระป๋องซุป ของ แอนดี้
ถ้าไม่ดัง ขอให้ไพเราะ
ห้องเรียนศิลปะของ"ครูยิ่ง"
สิงคโปร์ในสายตา (1)...
สิงคโปร์ในสายตา (จบ)...
109 มองพิศ...
สีเปื้อนฟิล์ม
ศราวุธ ดวงจำปา...
ภาพเขียนของคนไม่มีบ้าน
นักศึกษา มศว...
ที่ว่างและช่องว่าง
ภาพเขียนวิจิตร...
เขียนภาพบูชาคุณ...
ตื่นของนอก
ตายก่อนดับ
ศิลปะ – มากกว่าแค่วาดรูป
ดูอาร์ตอย่างไรให้สนุก (1)
ดูอาร์ตอย่างไรให้สนุก (จบ)
หยุด-ยอม-เย็น
ขอนแก่น
คิดถึงมาก-คิดถึงเหลือเกิน
นุกูล ปัญญาดี สานฝัน...
เขียนสวนสมเด็จย่า...
“สามเหลี่ยมวัฒนธรรม”
อาร์ตอ้วนๆ
มากกว่าเขียนรูป...
แลใต้ผ่านงานศิลป์
หอศิลป์กระบี่...
เส้นสีเดินทาง...
สุเทพ จันทระ ...
สินบน
พรชัย ใจมา
เสียงดังเจ้าปัญหา
ควันบุหรี่บนภาพเขียน
แรกรู้จัก… “พู่กันสัญจร”
แปลงโฉมอาคาร
วัยหนุ่มของศิลปิน
อารมณ์ชีกอ
สีน้ำชุ่มฉ่ำ...
น้องชายที่แสนดี
  mail :: thinksea@hotmail.com

พู่กันของใคร?

เรื่องโดย....ฮักก้า :: thinksea@hotmail.com

ฉันมีอาการโรคจิตอยู่ชนิดหนึ่ง...

เวลาซื้ออุปกรณ์ในการวาดภาพมาใหม่ๆหมาดๆ โดยเฉพาะจำพวกพู่กันเบอร์เล็กๆ มักรั้งรอที่จะใช้มันบ่อยๆ

แทนที่พู่กันจะถูกใช้ไปตามหน้าที่ จุ่มสีน้ำ สีอะคริลิค ฯลฯ แล้ววาดสีระบายฝันไปตามเรื่อง นานวันเข้ามันก็กลายมาดำรงสถานะ เป็นหนึ่งในบรรดาสมบัติบ้าของฉันไปโดยปริยาย

ฉันมีความสุข เวลาที่ได้ลูบๆคลำๆ พู่กันที่ปลายแปลงยังไม่แตก หรือเผยอออกมาสักเส้นเพราะโดนน้ำ

อารมณ์รักพู่กัน เหมือนกับรักปากกาและดินสอด้ามสวยๆ และหากไม่วัดกันด้วยราคา ความรู้สึกคงไม่ต่างจากบรรดาไฮโซที่ได้ลูบๆคลำๆเพชรน้ำงาม เม็ดโต เม็ดเป้ง เท่าไหร่หรอก

ถ้าไม่นับรวมความพยายามที่มีน้อยอยู่แล้ว อาการแบบนี้จึงน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนและยืนยันว่า ทำไมจนป่านนี้ ฉันจึงเป็นไม่ได้แม้แต่ จิตรกรสมัครเล่นปลายแถว

เวลาที่จะซื้อพู่กันทั้งทีก็แสนเรื่องมาก ใช่ว่าจะยี่ห้ออะไรก็ได้ที่ฉันจะยอม เต็มใจซื้อ เต็มใจจ่าย

เพราะฉันผูกสมัครรักอยู่ยี่ห้อเดียวคือ “พู่กันของ สง่า มยุระ”

“สง่า มยุระ” ชื่อนี้เกี่ยวดองอะไรกันหนอกับ “ประโภชน์ มยุระ” พิธีกรชายรายการ “ครบเครื่องเรื่องผู้หญิง” ยามเช้าทางช่อง 7

คือความสงสัยเล่นๆที่ตามมา หลังจากที่รู้สึกว่า แหม! มันช่างฟังดูคลาสสิคดีแท้ มีพู่กันชื่อแบบนี้อยู่ด้วยในโลก

จากนั้นฉันก็เข้าใจเอาเองมาตลอดว่า สง่า มยุระ คงจะเป็นแค่ชื่อของที่มาเพื่อบอกให้ทราบ หรือไม่ก็เป็นชื่อต้นตระกูลของเจ้าของโรงงานผลิตพู่กันขายเท่านั้นเอง เหมือนน้ำพริกแม่ประนอม เหมือนแหนมดอนเมือง ฯลฯ หาได้มีความสลักสำคัญอะไรไม่กับแวดวงศิลปะ

แต่หารู้ไม่ว่า ท่านผู้นี้ คือหนึ่งจิตรกรแห่งยุครัตนโกสินทร์ ที่ควรจดจารจารึกชื่อไว้ ณ ซอกมุมหนึ่งของความจำ เผื่อใช้ตอบยามที่ใครใคร่สนใจถามถึงที่มา “พู่กันของ สง่า มยุระ” ซึ่งแสนจะเข้าใจตั้งชื่อให้แสดงถึงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ

สง่า มยุระ หรือ “ครูสง่า” มีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ท่านเป็นคนหนึ่งที่เคยเขียนภาพไว้ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เคยตั้งร้านเขียนภาพเกี่ยวกับลายเส้น อันเป็นงานประยุกต์ เช่น การออกแบบลายในขันน้ำ พานรอง และงานต่างๆฯ จนกระทั่งวันหนึ่งก็คิดประดิษฐ์พู่กันขึ้น คือข้อมูลคร่าวๆในเบื้องแรกที่ฉันได้รู้จักในเวลาต่อมา

มีศิลปินบางคนบอกให้ฟังว่า เคยเห็นป้ายโรงงานพู่กันชื่อนี้แถวฝั่งธนฯ ฉันตั้งใจว่าจะตระเวนไปดูสักหนเหมือนกัน

แล้ววันหนึ่งก็มีคนใจดีไปรื้อไปค้น หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่ง มาส่งให้ ไม่เพียงทำให้ฉันได้รู้จักชื่อของ “ครูสง่า” มากขึ้น ยังพลอยได้ย้อนรอยอดีต ไปทำความรู้จัก บรรดาศิลปิน เช่น ขวัวอินโข่ง จิตรกรเอกหัวสมัยใหม่ สมัยรัชกาลที่ 4

ขุนศรีศุภหัตถ์ ช่างออกแบบลายไทยฝีมือดีของโรงเรียนเพาะช่าง ผู้ออกแบบวัดทั้งวัด อย่างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บางเขน เมื่อคราวเกิดมหาสงครามเอเชียบูรพา และออกแบบหอประชุมจุฬาฯ อันงามสง่ากระทั่งวันนี้ด้วย

ยังอีกหลายท่าน ที่ล้วนเป็นต้นธารของศิลปะไทย ยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งผ่านการสืบค้นข้อมูลมาเรียบเรียงและบอกเล่าให้ฟังผ่านหน้ากระดาษ โดยใครไปไม่ได้ นอกจาก อาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ (น. ณ ปากน้ำ) หรือ “นายซีเนียร์” ที่ฉันชอบเรียก

เส้นทางศิลปินของ “ครูสง่า” ไม่ได้ผ่านการเอนทรานซ์เข้าเรียนที่คณะจิตรกรรมฯ ม.ศิลปากร เช่นใครหลายคนหรอกนะคะ เพราะท่านเกิด เมื่อ พ.ศ.2452 โน่น

เรื่องมีอยู่ว่า ท่านเป็นชาว อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ฝึกเรียนวาดเขียนกับอาจารย์อู๋วัดมะนาว อ.บางปลาม้า มาแต่ยังเด็ก ต่อมาย้ายมาอยู่ที่วัดสุวรรณาราม คลองบางกอกน้อย เรียนวิชาวาดเขียนกับครูสะอิ้งข้างวัด

แสดงฝีมือเชิงช่างให้ปรากฏ โดยการที่ท่านถูกครูสะอิ้งใช้ให้ช่วยเขียนลายรดน้ำบานหน้าต่างวัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ จนต่อมาครูสะอิ้งอีกนั่นแหล่ะ ที่แนะนำให้รู้จักหลวงเจนจิตรยง ช่างเขียนมีชื่อสมัยนั้น ทำให้ได้เรียนรู้วิชาการเขียนมากขึ้น จนเกิดความชำนิชำนาญ

เมื่อหลวงเจนจิตรยงชราภาพลง จึงได้มอบหมายให้ครูสง่าทำหลายอย่าง และเมื่อเข้าสู่เพศบรรพชิต ท่านก็ได้ภาพระเบียงวัดพระแก้ว อย่างที่บอกไว้ก่อนหน้า

หลังจากลาสิกขาออกมา ได้ตั้งโรงงานพู่กันขึ้น แต่ก็ยังไม่ทิ้งงานช่างเสียทีเดียว ยังคงออกแบบอาคาร ลวดลายให้วัดต่างๆอีกมาก โดยไม่รับเงินค่าจ้างแต่อย่างใด

งานชิ้นหลังสุด คือการออกแบบลายหน้าบัน วัดเลียบ หรือ วัดราชบูรณะ จนอายุได้ 69 ปี วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2521 ท่านก็ถึงแก่กรรม

คราวหน้าซื้อพู่กันมาใช้ คงได้คลายสงสัยกันบ้างแล้วนะคะ ว่าทำไมต้อง “พู่กันของ สง่า มยุระ’

All content ฉ 2003 copyright 2003 Gomew.com, All rights reserved.
Commercial use is prohibited.Please read our terms of use.
Powered and Design by www.gomew.com
Contact Us at :: 4/1 Soi 12, Chotana Rd, T.Changpuek, A.Mueng, Chiang Mai 50300, Tel. 053-408771 Fax. 053-408771 Email. mew6@mew6.com