ศีรษะหุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่ ที่ยังเหลือให้เห็นในปัจจุบันมักจะแกะด้วยไม้ ด้านหลังหัวเจาะเป็นรูสี่เหลี่ยมกว้างคว้านเนื้อไม้ข้างในกะโหลกจนเหลือแต่ผิวบางเบาหน้าตาของหุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่ที่แกะด้วยไม้นี้หากเป็นหน้าพระ หน้านางจะแกะทรงมะตูมอย่างโบราณ ไม่มีการปั้นเน้นแต่งเติมด้วยรักเลย แต่หากเป็นหน้ายักษ์หรือลิง จึงจะมีการปั้นแต่งเติมคิ้วตา และพรายปากเช่นเดียวกับหัวโขนหน้านางจะแกะทรงมะตูมอย่างโบราณ ไม่มีการปั้นเน้นแต่งเติมด้วยรักเลย แต่หากเป็นหน้ายักษ์หรือลิง จึงจะมีการปั้นแต่งเติมคิ้วตา แต่ศีรษะหุ่นกระบอกไม่แกะด้วยไม้คว้านข้างในกะโหลกส่วนมากจะแกะด้วยไม้เนื้อเบาทั้งแท่งเนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าหุ่นใหญ่ แล้วปั้นเติมส่วนละเอียดตรงคิ้ว ตา จมูก ปาก ด้วย รัก ดิน หรือขี้ผึ้งผสมชัน หัวหุ่นบางคณะเป็นกระดาษที่ปิดบนพิมพ์แล้วผ่าออกเช่นเดียวกับวิธีทำหัวโขน แล้วนำมาปั้นเติมเน้นส่วนละเอียดบนใบหน้าด้วยขี้ผึ้ง หรือรักอีกที จึงมีน้ำหนักเบามากแต่ตรงคอหุ่นทุกหัวจะต้องมีแกนไม้กลมยาวลงมาประมาณ ๓ นิ้ว สำหรับไว้เสียบกับไม้กระบอกที่เป็นตัวหุ่นหน้าหุ่นกระบอกตัวพระตัวนางมักไม่นิยมทำหน้าทรงมะตูมอย่างหุ่นหลวงนอกจากหน้าเทวดาหรือพระราม พระลักษณ์ หน้าเขียว หน้าทองบางหน้า ส่วนมากจะทำเป็นหน้ามนุษย์จิ้มลิ้ม เขียนคิ้ว ตา และปากอย่างละคร ไม่เขียนเส้นฮ่อ และพรายปากเดินเส้นทองอย่างหุ่นหลวง หรือหุ่นใหญ่ ซึ่งจะทำหน้าหุ่นเหมือนอย่างหน้าโขนทุกประการ

วิธีประดิษฐ์

ศีรษะหุ่นที่แกะด้วยไม้ มักใช้ไม้เนื้อเบาเช่นไม้ลำพู ไม้นุ่น ไม้ทองหลาง ไม้โมก ที่แกะด้วยไม้สักก็มีบ้างเมื่อแกะหน้าหุ่นแล้วปั้นแต่งด้วยรักหรือดินเรียบร้อยแล้วจึงปิดด้วย "กระดาษสา" ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วทาด้วยแป้งเปียกหรือกาวปิดจนทั่วชั้นหนึ่งรอจนหมาด แล้ว "กวด" โดยใช้ไม้หรือด้ามพู่กันกวดให้เรียบทุกซอกทุกมุม ตา จมูก ปาก แล้วปิดกระดาษสาอีกจนครบ ๓ ชั้น โดยกวดทุกชั้นจนผิวเรียบแน่นดีจึงทาสีฝุ่นสีขาว(ปัจจุบันใช้สีพลาสติก)สัก ๓ ชั้น รอจนแห้งสนิทดีแล้วขัดผิวหน้าหุ่นด้วยใบลิ้นเสือ(ปัจจุบันใช้กระดาษทรายน้ำ) แล้วจึงเขียนสีพลาสติก)สัก ๓ ชั้นรอจนแห้ง สนิทดีแล้วขัดผิวหน้าหุ่นด้วยใบลิ้นเสือ (ปัจจุบันใช้กระดาษทรายน้ำ) แล้วจึงเขียนสี

การเขียนสี

สีที่ใช้เขียนคือสีฝุ่น หน้าหุ่นตัวพระตัวนางลงพื้นด้วยสีฝุ่นสีขาว หรือสีขาวนวลเป็นบางตัวส่วนหัวยักษ์ หัวลิงก็ต้องลงพื้นสีขาวด้วยเช่นกันเมื่อขัดเรียบดีแล้ว จึงจะลงสีไปตามพงศ์หน้าหุ่นแต่โบราณเขียนด้วยสีฝุ่นทั้งนั้น และเมื่อเขียนแล้วตกแต่งเสร็จจะเข้าพิธีไหว้ครู อันถือเป็นการเบิกพระเนตรหุ่น ซึ่งจะไม่มีการล้างหน้าหุ่นออก เมื่อนำออกแสดงหลายๆครั้งเข้าก็จะเลอะเทอะเปรอะเปื้อนไป ก็เช็ดล้างไม่ได้เพราะเป็นสีฝุ่น เจ้าของคณะซึ่งไม่ใช่ช่างหรือไม่มีช่างอยู่ในคณะ ก็จะทาสีฝุ่นทับรอยชำรุด เปรอะเปื้อนนี้ลงไปครั้งแล้วครั้งเล่าบางครั้งก็เขียนหน้าตาทาปากทับฝีมือหุ่นช่างเดิมจนในที่สุดหน้าหุ่นก็หนาเทอะทะ แลดูไม่มีเค้าความงามอันเก่าเหลืออยู่เลย ปัจจุบันการเขียนหน้าหุ่นกระบอกอาจใช้สีอะครีลิคแทนสีฝุ่น

เครื่องประดับศีรษะ

เครื่องประดับศีรษะหุ่นอันได้แก่ ชฎา รัดเกล้า มงกุฎกษัตรีย์ กระบังหน้า ปันจุเหร็จ ตลอดจนหัวช้างหัวม้าฯลฯ มักประดิษฐ์ด้วยวัสดุมีน้ำหนักเบา ชฎาตัวพระส่วนมากจะแกะชั้นเชิงบาตรติดกับศีรษะหุ่นไปเลย บางหัวก็ทำเป็นชฎามาสวมต่างหากส่วนรัดเกล้ามักจะกลึงไม้เนื้อเบาเป็นฐานรัดเกล้าทั้งอันปลียอดชฎา ยอดรัดเกล้า ยอดมงกุฎกษัตรีย์ เป็นไม้กลึงทั้งยอด ปันจุเหร็จ กระบังหน้า เปลวรัดเกล้า กรรเจียกจอนมักจะทำด้วยหนังบางๆ หรือสังกะสี ตอกฉลุเป็นลวดลาย แล้วเย็บตรึงด้านในด้วยโครงลวดอีกที การประดับลวดลาย ช่างแต่ก่อนใช้รักผสมขี้เถ้าใบตองเผา และส่วนประกอบอื่นๆอีกบ้าง ถือเป็นสูตรลับในสำนักของแต่ละช่าง เรียกกันว่า "รักตีลาย" รักตีลายนี้ใช้กดลงไปในแม่พิมพ์หินสบู่ ซึ่งแกะเป็นแม่พิมพ์ลวดลายต่างๆเรียบร้อยแล้ว เช่น ลายกระจัง ลายลูกแก้ว ลายกนก ลายก้านขด ฯ ล ฯ หินสบู่ที่ใช้แกะลายแม่พิมพ์นี้ ควรเป็นหินเนื้อละเอียด แกะง่าย ไม่แตก เครื่องมือที่ใช้แกะลายหินสบู่ โดยมากช่างมักใช้เครื่องมือแกะทอง เมื่อประดับกระจังและลวดลายเหล่านี้ไปตามชั้นเชิงบาตรปลียอด และส่วนอื่นๆเรียบร้อยแล้ว ช่างจะใช้ "รักน้ำเกลี้ยง" อันเป็นรักที่ใช้สำหรับปิดทองโดยเฉพาะ ทาชิ้นส่วนเหล่านี้ให้ทั่ว แล้วทิ้งไว้จนรักไม่เยิ้มหรือแห้งสนิทดีแล้ว จึงปิดทองคำเปลวให้ทั่วทุกซอกทุกมุมการตั้งรัดเกล้าสำหรับหุ่นตัวนางช่างจะถักผมคนจริงๆที่มีความยาวประมาณ๑๐นิ้ว เข้าเป็นแผงติดกัน นำมาติดเป็นรูปวงกลมบนศีรษะหุ่น แล้วแหวกตรงกลางหน้าผากไปรวบที่ท้ายทอยหุ่น สวมที่รัดช้องจนแน่นหนาดี จึงติดกรรเจียกจอน และตั้งรัดเกล้าเป็นอันดับสุดท้าย

หัวภาษา

ได้แก่ หัวลาว หัวมอญ หัวพม่า หัวฝรั่ง หัวแขก ซึ่งมีประจำอยู่ทุกคณะหุ่นกระบอก หัวตัวตลกมักทำปากอ้าได้หุบได้ โดยมีเชือกดึงข้างในและมีห่วงอยู่ปลายเชือกบางตัวทำตาให้กลอกได้ โดยมีแกนลวดบังคับอยู่ภายในทั้งนี้จะมีเฉพาะแต่กับตัวตลกหรือตัวกากเท่านั้น

ลักษณะตัวหุ่น
ตัวหุ่นกระบอกก็คือไม้กระบอกหรือไม้ไผ่นั่นเองมีไหล่ทำด้วยไม้เจาะรูสำหรับเสียบไม้กระบอกแกนตัว และเสียบหัวหุ่น เสื้อหุ่นเป็นผ้าผืนเดียวกันพับครึ่งเย็บเป็นถุงคลุมไหล่หุ่น เจาะตรงคอสำหรับเสียบหัวและตรงมุมผ้า ๒ ข้างสำหรับมือหุ่นโผล่ มือหุ่นทั้ง ๒ ข้างมีไม้ไผ่เหลาเล็กเสียบต่อจากมือลงมาสำหรับจับเชิด ยาวระดับเดียวกับปลายเท้าด้านล่าง ไม้ไผ่นี้เรียกกันว่า "ตะเกียบ" หุ่นกระบอกแต่ละคณะจะมีสัดส่วนเท่ากันโดยประมาณดังนี้ ไหล่หุ่นยาวจากปลายถึงปลาย ๕ นิ้ว ไม้กระบอกยาวจากไหล่ถึงปลายไม้ ๘ นิ้ว เสื้อหุ่นจากปลายเสื้อด้านล่างถึงไหล่ ๑๔ - ๑๕ นิ้ว จากปลายมือข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ๑๗ - ๒๐ นิ้ว ตะเกียบ ๑๕ - ๑๖ นิ้ว ผ้าห่มนาง กว้าง ๘ นิ้ว ยาว ๑๖ นิ้ว จากจีบชายพกถึงคอ ๕ นิ้ว

มือหุ่น

หุ่นตัวพระ มือขวาจะถืออาวุธไว้เสมอ จึงมักแกะด้วยไม้มีรูสำหรับเสียบอาวุธเปลี่ยนได้ไปตามเรื่อง เช่น ถือปี่ ถือศร ถือพระขรรค์ ส่วนมือซ้ายก็ตั้งวงอย่างละคร ส่วนมือนางโดยมากจะตั้งวงรำทั้งสองข้าง มีที่มือขวาถืออาวุธบ้าง ถือพัดบ้างเป็นบางตัว มือหุ่นจะแกะด้วยไม้เนื้อเบาทั้งมือซ้าย และมือขวา มีบางที่ทำด้วยหนังที่แช่น้ำจนนุ่ม แล้วนำมาขูดจนบางดีจึงตัดผ่าให้เป็นรูปมือมีนิ้วแล้วดัดด้วยลวดให้อ่อนเหมือนมือละครกำลังรำ เมื่อนำไปตากแดดจนแห้งแข็งดีแล้วจึงเอาลวดออก นำมาติดกับข้อมือที่ทำด้วยไม้ แล้วปิดกระดาษให้ทั่ว จึงทาสีฝุ่นให้เหมือนกับสีผิวหน้าหุ่น

ที่มา : "หุ่นไทย" โดย อาจารย์ จักรพันธุ์ โปษยกฤต


Copyright © 2000 ANURAKTHAI.COM All Right reserved